มารู้จักกับโรคเบาหวานกันเถอะ

มารู้จักกับโรคเบาหวานกันเถอะ

อ้วนมากเสี่ยงเบาหวานจริงหรือ?

ผอมอยู่แล้ว กินไปเถอะ ไม่ต้องกลัวเบาหวานถามหาหรอก!!!

เบาหวานเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมหรือไม่?

shutterstock_379492426

เบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมน “อินซูลิน” หรือมีฮอร์โมน “อินซูลิน”  ในร่างกายน้อย ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ

การรับประทานอาหารปกติ เมื่อร่างกายย่อยและดูดซึมสารอาหาร  อินซูลินจะนำน้ำตาลกลูโคสไปยังเซลล์ การพร่องอินซูลิน ร่างกายจะไม่สามารถนำพลังงานจากน้ำตาลกลูโคสมาใช้ได้ จึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาใช้แทน ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น น้ำตาลที่ไม่ได้นำมาใช้จึงล้นอยู่ในเลือด กลายเป็นน้ำหวาน หรือน้ำเชื่อม (มดจึงมักมาตอมปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวาน)

อินซูลิน คืออะไร ดีอย่างไร และนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้อย่างไร

insulinอินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นในตับอ่อน

มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต

โดยนำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และสร้างเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายขาด “อินซูลิน” จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือเป็น “โรคเบาหวาน” นั่นเอง

 

โรคเบาหวาน แบ่งชนิดใหญ่ๆ ได้ 2 ชนิด คือ

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ชนิดพึ่งพาอินซูลิน

ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย หรือผลิตได้น้อยมาก มักตรวจพบตั้งแต่วัยเด็กหรือเริ่มก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้  ต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลิน

ทำไมต้อง “ฉีด” อินซูลิน

เพราะน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารสามารถทำลายฮอร์โมนอินซูลินได้ หากรับประทานฮอร์โมนเข้าไป จึงต้องใช้วิธีฉีดเข้าร่างกายโดยตรง โดยมักจะฉีดใต้ผิวหนัง บริเวณหน้าท้อง ขาหน้าทั้ง 2 ข้าง สะโพก หรือต้นแขนทั้ง 2 ข้าง โดยต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์

โรคเบาหวานชนิดที่ 2  ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน

โรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน (โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง) พฤติกรรมการกิน และสาเหตุอื่นๆ

ตับอ่อนยังคงผลิต “ฮอร์โมนอินซูลิน” เองได้ แต่ผลิตได้ในปริมาณน้อย อินซูลินที่ผลิตออกมาจึงไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทางการแพทย์เรียกว่า “ภาวะดื้ออินซูลิน”  ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้มีจำนวนสูงถึง  95% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย และยังพบผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้มากที่สุดทั่วโลก

 

ดื่มน้ำมาก เหนื่อยง่าย

อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย

 

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน

ลองสำรวจตัวเองดูว่า มีการหิวบ่อย  รับประทานจุ แต่นำหนักลดลงมากในเวลาอันสั้นหรือไม่ หรือมีการคอแห้ง หิวน้ำบ่อย  ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย  ตาพร่ามัว  มีอาการชาบริเวณปลายมือและปลายเท้าหรือไม่  สำหรับผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาจมีการติดเชื้อราบริเวณช่องคลอด จึงทำให้เกิดอาการคันบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบได้

เบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถควบคุมได้ โดยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับคนทั่วไป หากเข้ารับการตรวจเลือด (งดอาหารอย่างน้อย 8  ชั่วโมง)  ควรมีระดับน้ำตาลประมาณ 70-110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงคนทั่วไปมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อน

woman-dr-diabetes-18784297_m

โรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน

หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก อาจมีการติดเชื้อแทรกซึ่งจะทำให้อาการของเบาหวานรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจซึมจนหมดสติ บางรายหากมีภาวะเลือดเป็นกรดร่วมด้วย จะหายใจหอบ หรือบางรายมีอาการชักกระตุกเฉพาะที่

โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่เป็นโรค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมระดับน้ำตาล หากเป็นโรคเบาหวานมานานหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากยิ่งขึ้น

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากหลอดเลือดใหญ่

เกิดจากการตีบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตันได้ง่าย นำมาสู่อาการตามหลอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น

  • โรคหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  • อัมพฤกษ์และอัมพาตจากลอดเลือดสมองอุดตัน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • หลอดเลือดที่ขาตีบตัน ทำให้ปวดน่องเวลาเดินนานๆ หรือเกิดบาดแผลจากการขาดเลือด

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากหลอดเลือดฝอย

  • โรคแทรกซ้อนทางตา เช่น  อาการตามัว และ อาการเบาหวานขึ้นตา (Retinopathy)
  • โรคแทรกซ้อนทางไต ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย

โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท คือ มีอาการชาตามมือเท้า  และอาจมีอาการปวดร่วมด้วย

 

แม้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะไม่มีอาการอะไรในระยะแรก
แต่หากได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันเวลา
รวมถึงดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่ครั้งแรก
จะช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจหาโรคเบาหวาน

  • ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี (ควรตรวจซ้ำทุกๆ 3 ปี)
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เช่น

1.ผู้ที่มีพ่อ-แม่ พี่น้อง ที่เป็นโรคเบาหวาน

2.ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก โยมาดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม ต่อ ตารางฟุต

3.ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท

4.ผู้ที่มีระดับไขมัน HDL ต่ำกว่า 35 มก./ดล. และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 250 มก./ดล. ในเลือด

5.ผู้หญิงที่คลอดบุตรที่มีน้ำหนักเกิน 4 กก. หรือเคยเป็นเบาหวาน

ขณะตั้งครรภ์ หรือ ผู้ที่มีประวัติ “ความทนต่อกลูโคส” ผิดปกติ

  • ผู้ที่ออกกำลังน้อย
  • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือด
  • ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน (Polycystic Ovarian Syndrome, Acanthosis Nigricans)

กินอย่างไร ไกลเบาหวาน

  • กินอาหารครบ 5 หมู่ และหลากหลายตามธงโภชนาการ

 

picturee

  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หวานๆ และอาหารที่มีรสเค็ม
  • หลีกเลี่ยงขนมหวานทุกชนิดที่มีส่วนประกอบมาจากไขมันทรานส์ เช่น เนยสด มาการีน หรือปรุงจากแป้ง น้ำตาล ไข่ กะทิ เช่น  เค้ก คุกกี้ ทองหยิบ ทองหยอด ขนมชั้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน เช่น  ปาท่องโก๋   แกงกะทิ  กล้วยทอด  หนังไก่ทอด มันฝรั่งทอด
  • หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม น้ำหวาน นมปรุงแต่งรสต่างๆ น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัด เช่น เงาะ ลำไย ทุเรียน มะม่วงสุก และผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมถึงผลไม้กระป๋อง
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมัก หรือดอง อาหารตากแห้ง อาหารสำเร็จรูปที่บรรจุกระป๋องหรือถุง

อาหารที่ผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงสามารถทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณ

alimentos20alcalinos20diabetes

  • กลุ่มนม ควรทาน นมรสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมถั่วเหลือง สูตรไม่มีน้ำตาล  โดยควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมคือ 1-2 แก้ว/วัน (ปริมาณ 250 ซี ซี)
  • กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช  ควรทาน ข้าวกล้อง ธัญพืชแบบไม่ขัดสี หรือขนมปังโฮลวีท   โดยควรทานในปริมาณที่เหมาะสม 8-9 ทัพพี/วัน
  • กลุ่มเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ   ควรทาน เนื้อปลา หรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน  ไม่ติดหนัง  ควรทานไข่ โดยเฉพาะไข่ขาว   ใน ปริมาณที่เหมาะสม 12 ช้อนทานข้าว/วัน (ไข่ทั้งฟอง สามารถทานได้ สำหรับผู้มีโคเลสเตอรอลในเลือดไม่สูงมาก  โดยสามารถทานได้ 2-3 ฟอง/วัน)
  • กลุ่มผลไม้    ควรทานผลไม้สด รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอปเปิ้ลเขียว ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  ชมพู่  เป็นต้น    โดยทานในปริมาณที่เหมาะสม 3-4 ส่วน/วัน (1 ส่วนผลไม้ เท่ากับ 6-8 ชิ้นคำ)
  • กลุ่มไขมัน   ควรทาน น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หลีกเลี่ยง น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ ครีมเทียม  และควรทานปริมาณในที่เหมาะสมไม่เกิน  6-7 ช้อนชา/วัน
  • กลุ่มน้ำตาล เกลือ เครื่องปรุงรส  ควรทาน โดยหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล เกลือ และเครื่องปรุงรสมากเกินความจำเป็น  สำหรับผู้ที่ติดหวานอาจใช้น้ำตาลเทียมให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายได้

อาหารที่สามารถทานได้ โดยไม่จำกัดปริมาณ

กลุ่มพืช ผัก ชนิดต่างๆ สามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัดปริมาณ เนื่องจากผัก ให้สารอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลต่ำ แต่มีเส้นใยสูง ช่วยขัดขวางการดูดซึมน้ำตาลและไขมัน  โดยควรรับประทานผักใบเขียวชนิดต่างๆ  เช่น  ผักบุ้ง  ผักคะน้า  ผักตระกูลผักกาด  แตงกวา  กะหล่ำปลี  มะระ  มะเขือยาว มะเขือเทศ พืชผักตระกูลถั่ว เป็นต้น ในปริมาณที่เหมาะสม 4-6 ทัพพี/วัน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลธนบุรี โทร 1645

ภาวะสมองเสื่อม(Dementia)

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)  คือ ภาวะที่มีปัญหาด้านความจำบกพร่อง ร่วมกับอาการอื่นๆ  เช่น บวกลบเลขไม่ได้  การสื่อสารแย่ลง มีปัญหาเรื่องการติดกระดุมเสื้อไม่ได้ หรือ บุคลิกผิดแปลกไปจากเดิม ซึ่งมีผลต่อการดาํเนินชีวิตประจำวัน

อาการภาวะสมองเสื่อม
728x90

ผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม จะมีอาการผิดปรกติไปจากอาการหลงลืมในคนชราทั่วไป โดยอาการของภาวะสมองเสื่อมจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลานานเป็นปีๆ โดยที่ตัวผู้ป่วยเองอาจไม่สังเกตเห็นแต่คนรอบข้างจะสามารถสังเกตเห็นความผิดปรกตินั้นได้ เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำอะไรแปลกไปจากเดิม สูญเสียความเป็นเหตุเป็นผล อธิบายด้วยเหตุผลล้วไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถวางแผนได้ดีเหมือนเดิม รวมถึง ไม่สามารถทำอะไรที่เคยทำได้ เช่น ทำกับข้าว ติดกระดุมเสื้อ หลงลืม  หรืออาจหลงทางได้

shutterstock_279289190

อาการสมองเสื่อมเกิดจากอะไร

  1. สมองเสื่อมจากวัยชรา หรือเสื่อมโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น โรคอัลไซเมอร์ (ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นก่อนอายุ 65 ปี เมื่อตรวจเซลล์สมอง จะพบพยาธิสภาพของเซลล์สมองเสื่อมลงเหมือนอายุ 70-80 ปี)
  2. โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากเลือดไปเลียงสมองไม่เพียงพอ  มักเกิดขึ้นจากหลอดเลือดเส้นเล็กๆ ทั่วไป อุดตันมานาน ทำให้เซลล์สมองตาย และการทำงานของสมองโดยรวมเสื่อมลง
  3. ภาวะเลือกคั่งในสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง  เป็นโรคที่แพทย์พยายามมองหา เพราะคนไข้อาจมาด้วยอาหารพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงคล้ายภาวะสมองเสื่อม บางรายสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด
  4. ภาวะขาดวติามินบี 1  บี 12 และกรดโฟลิค มักพบในคนที่ได้รับการผ่าตัดกะเพาะลำไส้มานานๆ และขาดสารอาหาร หรือคนที่ดื่มสุรา
  5. โรคติดเชื้อที่มีผลทางสมอง เช่น ซิฟิลิส ไวรัสสมองอักเสบ ไวรัสเอดส์ โรควัวบ้า และวัณโรคทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้
  6. การแปรปรวนของระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย เช่น การทำงานของต่อมไร้ท่อบางชนิดที่ผิดปรกติไป โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์
  7. เนื้องอกในสมอง
  8. สมองเสื่อมจากโพรงน้ำในสมองขยายใหญ่จนเบียดเนื้อสมอง ทำให้สมองทำงานผิดปรกติ

 

การตรวจวินิจฉัย

728x90.jpg

 

เมื่อมีอาการน่าสงสัยควรปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติเพิ่มเติมและตรวจร่างกาย รับการทดสอบภาวะความจำ หากผลตรวจน่าสงสัยว่าเป้นโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือดทั่วไป เพื่อคัดแยกโรคต่างๆที่มีผลต่อความจำ หรือ ทำให้สมองเสื่อม
โดยแพทย์อาจทำการตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในสมอง โดยการถ่ายภาพสมองด้วยเครื่อง MRA

 

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม ส่วนใหญ่อยู่ที่การดูแลพฤติกรรมของตนเอง คือ

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน  เค็ม  มัน และรับประทานผักผลไม้ให้มากๆ
  2. หมั่นตรวจสุขภาพ  ปีละ 1-2 ครั้ง
  3. ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง  เช่น  งดสูบบุหรี่
  4. หมั่นออกกำลังกายและบริหารสมองเป็นประจำ ด้วยการเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ หรือหารคิดเลข  รวมถึงการเข้ารวมกิจกรรมทางสังคม อย่างน้อยให้มีกิจกรรมกับคนในครอบครัว
  5. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับศรีษะโดยเฉพาะ
  6. หลีกเลี่ยงความเครียด

 

 

โรคไมเกรน (Migraine)

 

โรคไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจาก ภาวะหลอดเลือดแดงในสมองบีบตัวและคลายตัวมากกว่าปกติ    ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด แต่อาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว
       อาการไมเกรน

อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และติดต่อกันนานกว่า 4 – 72 ชั่วโมง โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.มีลักษณะอาการปวดอย่างน้อย 2 ใน 4 ข้อshutterstock_279289190.jpg

* ปวดข้างเดียว

* ปวดแบบตุ๊บๆ

* ปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือสั่นสะเทือน

* ปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก

2.ร่วมกับอาการต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง

* คลื่นไส้   อาเจียน

* อาการมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ที่มีเสียงดังอึกทึก หรือ แสงจ้า

มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้โรคไมเกรน(MIGRAINE) เป็นมากขึ้น?

  1. ภาวะเครียด
  2. การอดนอน
  3. การขาดการพักผ่อน หรือทำงานมากเกินไป
  4. ขณะมีระดู หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
  5. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
  6. อาหารบางชนิดเช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต

ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไมเกรน(MIGRAINE) จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆเหล่านี้ ผู้ป่วยทุกคนต้องสังเกตตัวเองว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นการเกิดไมเกรน (MIGRAINE) ในตนเอง เพื่อจะหลีกเลี่ยงและแก้ไข ได้ตรงจุด

โรคไมเกรน(MIGRAINE) รักษาได้อย่างไร?

การรักษาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

–   การรักษาด้วยยา ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ ยาระงับปวด และยาเพื่อป้องกัน โดยหลักการ

แล้วยาระงับปวดจะแนะนำให้รับประทานเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรเทาจากอาการปวด พอ

อาการดีขึ้นให้หยุดใช้ ส่วนยาเพื่อป้องกันให้รับประทานต่อเนื่องทุกวันตามที่แพทย์สั่ง        แพทย์จะ

แนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกันก็ต่อเมื่อปวดศีรษะบ่อย เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นไป หรือแม้

จะปวดไม่บ่อย แต่รุนแรงมากหรือนานต่อเนื่องกันหลายวัน ยาป้องกันไมเกรนนั้นมีอยู่หลายชนิด จะ

ต้องเลือกชนิดและปรับขนาดยาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย แนะนำให้รับประทานยาป้องกัน

ต่อเนื่องจนอาการสงบลงนานอย่างน้อย 3 -6 เดือน       จึงค่อยๆหยุดยาได้ เมื่อกำเริบขึ้นอีกจึงเริ่ม

รับประทานใหม่

–  การรักษาที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การประคบเย็น การนวด กดจุด  การทำกายภาพบำบัดเพื่อผ่อนคลาย

กล้ามเนื้อรอบศีรษะและคอ การนอนพัก การนั่งสมาธิ หรือ การคลายเครียดด้วยวิธีต่างๆ  อาจพอช่วย

ให้บรรเทาอาการปวดได้บ้าง สิ่งที่สำคัญ  คือ  หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดต่างๆ

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การดูแลสุขภาพจิตใจ การรักษา

ระดับอารมณ์ให้คงที่แจ่มใส และรู้จักการผ่อนคลายความตึ่งเครียดก็เป็นการรักษาที่สำคัญ

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

โรคข้อเสื่อม  เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ หรือในวัยกลางคนขึ้นไป โดยเฉพาะในเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงหนี่งที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นนั่นคือการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

อาการข้อเข่าเสื่อม เริ่มต้นด้วยการมีอาการปวดข้อ เมื่อมีอายุมากขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

1. อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมาก

2. เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า

3. น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว

4. การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆ จะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว

5. การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า  ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตก  หรือเอ็นฉีกจะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้


 

อาหารเกี่ยวกับกับโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร?

e9020cc6-7468-4c7c-b893-4557e925a0a5.jpg

อาหารกับการควบคุมน้ำหนัก

จากที่กล่าวมาแล้วว่าโรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อ เสื่อมเนื่องจาก แรงกดที่เพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลจากน้ำหนักตัวและการกระทำซ้ำ ๆ กันทุกวัน ทำให้ข้อที่รับน้ำหนักเกิดโรคข้อเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ
ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นทั้งการป้องกันการเกิดโรค การชะลอการดำเนินของโรค และการบรรเทาอาการของโรคด้วย

อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม

แนะนำให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับ ผู้ควบคุมน้ำหนัก เป็นอาหารไขมันต่ำ และเน้นให้กินผัก ผลไม้เป็นหลัก เพราะคนอ้วนหรือคนที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้พยายามควบคุมน้ำหนักกับการรักษาโรคด้วยยา โดยเน้นไปที่อาหารกลุ่มธัญพืชที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และผักใบเขียวต่างๆ ที่เป็นแหล่งเบต้า-แคโลทีน แคลเซียม โดเลต เหล็ก วิตามินซี ควรกินให้ได้ทุกวัน วันละนิดก็ได้ แต่ควรให้รับสม่ำเสมอ
นอกจากอาหารควบคุมน้ำหนักต่างๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ ควรบริโภคปลาที่มีน้ำมันปลาด้วย เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในกฎไขมันไม่อิ่มตัวในปลา มีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์  นอกจากน้ำมันปลาแล้ว น้ำมันจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส ก็มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้เช่นกัน ก่อนกินควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า สามารถกินได้หรือไม่

อาหารที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรีสูงซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี วิตามินซี เบตาแคโรทีน  ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยสร้างคอลลาเจน  วิตามินเหล่านี้จะช่วยชะลอการลุกลามของข้อเสื่อมได้เล็กน้อย
มีการศึกษาที่น่าสนใจในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของข้อเสื่อมมากกว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีสูง

ดังนั้น นอกจากจะต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ควรออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอด้วย

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ(Carpal Tunnel Syndrome)

0000

ในปัจจุบันนี้โรคอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงาน  คือ   “โรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ”      (Carpal Tunnel Syndrome หรือ CTS)  พบมากในผู้ที่ใช้ข้อมือทำงานหนักมากๆ  เช่น ผู้ที่ต้องทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์   นั้นมักจะใช้มือหรือข้อมือในท่าเดิมๆ ในการหมุนหรือจับเมาส์หรือกดคีย์บอร์ด   กลุ่มแม่บ้านที่ทำงานบ้านและเย็บปักถักร้อยบ่อยๆ  นักกีฬาบางประเภท  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดพังผืดบริเวณช่องเส้นเอ็นเป็นอาการที่เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก  และการเคลื่อนไหวบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ถูกกดทับบริเวณข้อมือ

สาเหตุส่วนใหญ่  เกิดจากเส้นเอ็นบริเวณช่องข้อมืออักเสบ ทำให้เส้นเอ็นบวมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผลให้ช่องว่างในข้อมือมีขนาดเล็กลง เส้นประสาทจึงถูกเบียดหรือถูกกดทับเส้นประสาทมีเดียนผ่านช่องข้อมือมีแขนงไปยังนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางด้านนิ้วหัวแม่มือ เมื่อถูกกดทับทำให้มีอาการปวดและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย หรือนิ้วนาง

0001

การสังเกตุอาการของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

  • อาการปวดบริเวณข้อมือ หรือมือในช่วงเวลากลางคืน จนทำให้ต้องตื่นนอนตอนกลางคืน
  • มีอาการชา หรือเหน็บชาบริเวณมือ ข้อมือ
  • มีอาการอ่อนแรงบริเวณมือ ข้อมือ
  • เวลากำวัตถุสิ่งของ หรือหยิบจับสิ่งของขนาดเล็ก ทำได้ลำบาก รวมทั้งการประเมินความสามารถในการใช้มือ เช่น เขียนหนังสือ ติดกระดุมเสื้อ ถือโทรศัพท์ เปิดขวด ทำงานบ้าน ถือถุง หรืออาบน้ำแบบตัก

ถ้ามีอาการเฉพาะเวลานอน หรือเวลาทำงานหนัก
แนะนำให้ดูแลตนเองโดยการลดกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือลง
ถ้าอาการดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์
แต่ถ้ามีอาการมากขึ้น ทำงานนิดหน่อยก็มีอาการ ควรมาพบแพทย์

การรักษาโรคกลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ควรจะรีบให้การรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น โดยการให้พักข้อมือ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดมากขึ้น การรักษาแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1.การรักษาโดยไม่ผ่าตัด

  • การใช้เฝือกอ่อนดามข้อมือ
  • การใช้ยาจำพวกกลุ่ม NSAID ซึ่งเป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบ เช่น  Aspirin จะสามารถลดอาการปวดและอาการบวม
  • การใช้ยา Steroid จะใช้รักษาในช่วงระยะเวลาไม่นาน การใช้ยานี้ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์ และการฉีดยา Steroid เข้าบริเวณข้อมือพบว่าได้ผลร้อยละ 80 และต้องแก้ไขสาเหตุร่วมด้วย
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะใช้ข้อมือเพื่อลดการอักเสบของข้อมือ  การทำกายภาพบำบัด เช่น การทำอุลตร้าซาวด์ การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก การประคบร้อน, กดนวดบริเวณพังผืดที่กดทับเส้นประสาท, การยืดเส้นประสาท หรือใช้การรำไทยมาใช้เพื่อให้เส้นประสาทแขนมีความยืดหยุ่น, การขยับกระดูกข้อมือ เพื่อให้ทางเดินของเส้นประสาทดีขึ้น, การใช้เครื่องมือทางกายภาพเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาทและคลายพังผืดที่รัดบริเวณข้อมือร่วมกับการออกกำลังกาย

2.การผ่าตัด การผ่าตัดจะกระทำเมื่อ

  • การรักษาด้วยยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงกล้ามเนื้อฝ่อมักจะไม่ได้ผลเมื่อรักษาด้วยยา

วิธีการผ่าตัด

  • การผ่าตัดโดยการเปิดแผลและตัดเอ็นที่ด้านหน้า และขยายช่องให้ใหญ่ขึ้น
  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง มีข้อดีคือแผลจะเล็กกว่าการผ่าตัดแบบธรรมดา

โรคนี้ป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดอาการผิดปกติ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นในหัวข้อ โอกาส/ปัจจัยเสี่ยง ทั้งนี้รวมทั้งการป้องกัน รักษาและควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคของต่อมไทรอยด์ โรคข้อรูมาตอยด์ ก็อาจช่วยลดโอกาสเกิดโรคเส้นประสาทมีเดียนกดทับที่ข้อมือลงได้เช่นกัน

ภาวะข้อเข่าเสื่อม

ภาวะข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดได้กับทุกคนเป็นไปตามกลไกอายุ
มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ

ตัวแปรสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของข้อเข่าเสื่อมคือผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน ถ้าผิวข้อนี้เกิดเป็นบาดแผลหรือชำรุดไปแล้วไม่สามารถจะซ่อมแซมหรืองอกมาใหม่ให้เหมือนเดิมได้ ผิวข้อที่ชำรุดไปแล้วจะเสียสมดุลสมรรถภาพการทำงานไปเลย

ปัจจุบันมีผู้ที่โฆษณาชวนเชื่อที่กล่าวว่ามียาสามารถซ่อมแซมผิวข้อที่สูญเสียไปแล้วให้กลับคืนมา แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเท่านั้น ไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นแน่ชัด

สาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีหลายอย่างด้วยกัน แต่ปัจจัยสำคัญที่พบบ่อยๆ คือ น้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ข้อเข่าต้องแบกรับน้ำหนักในส่วนของแรงกดข้อเข่า เป็นการเสื่อมตัวก่อนวัยอันควร การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ที่มีแรงกระแทกมากๆ หรือมีการฉีกขาดของกระดูกอ่อนหรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ทำให้ความมั่นคงแข็งแรงของข้อเข่าเสียไป และเกิดการเสื่อมสภาพ และ โรคต่างๆที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุเรื่อรังทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ

000000

การป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมตัวเร็วเกินไป ปัจจัยสำคัญคือการควบคุมน้ำหนักตัวและห้ามอ้วนเพื่อลดแรงกดของน้ำหนักตัวสู่ข้อเข่า ปัจจัยที่สอง การวิ่งหรือว่ายน้ำเป็นการช่วยรักษาสมดุลของกล้ามเนื้อและข้อเข่า มีความเชื่อผิดๆที่กล่าวว่าการวิ่งทำให้เกิดการกระแทกส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมไวขึ้น ข้อมูลนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ปัจจัยสุดท้ายคือการหลีกเลี่ยงการกดทับของข้อเข่ามากจนเกินไป เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ และ นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น

แนวทางการรักษา ในปัจจุบันมีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าใหม่หรือที่เรียกว่าผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม หลักการคือการนำเอาผิวข้อที่เสียผ่าตัดออกไปจนหมดแล้วทำการใส่ผิวขึ้นใหม่ที่ทำจากโลหะพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความแข็งแรงทนทานและเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนนี้เรื่อยๆ และหลายรูปแบบด้วยกัน

สรุปปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าเทียมได้ผลดีนั้นขึ้นอยู่กับ ปัจจัยแรกคือ ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ปัจจัยที่สอง สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ปัจจัยที่สาม ความร่วมมือของตัวผู้ป่วยเองในการดุแลรักษาหลังผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวเองเป็นเรื่องสำคัญเพราะนอกจากไม่ต้องเปลี่ยนข้อเข่าที่มีอยู่แล้ว ยังเป็นการดูแลรักษาสมรรถภาพร่างกายตัวเองด้วย

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ข้อเข่าเสื่อม  ได้ที่  1645

 

ภัยใกล้ตัวโรคข้อนิ้วล็อค (Trigger Finger)

“ในยุคปัจจุบัน สมาร์ทโฟนเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่
ดังนั้นจากสาเหตุนี้แล้วโรคนิ้วล็อคจึงเกิดขึ้นบ่อย
ในสังคมปัจจุบันเช่นสังคมเมือง”

images

โรคนิ้วล็อคเกิดจากการที่ใช้งานนิ้วมือมากและเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในท่างอเหยียดนิ้วบ่อยๆ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของปลอดหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นของนิ้วมือ ดังนั้นแล้วจึงพบบ่อยใน พนักงานออฟฟิศที่มีการใช้สมาร์ทโฟนอย่างต่อเนื่องและมืออยู่ในท่าจับนั้นนานๆ
รวมไปทั้ง วัยรุ่น 
ที่มีการจับเม้าส์คอมพิวเตอร์นานๆเวลาเล่นเกมส์ออนไลน์  และผู้ที่ชอบเล่นกีฬาอย่าง กอล์ฟ เทนนิส แบดมินตัน แต่มีกรณีที่เป็นไปได้พบในแม่บ้านเป็นส่วนน้อย ที่ซักผ้าด้วยมือเป็นเวลานาน รวมทั้งเกิดกับสตรีมีครรภ์ที่ส่งผลให้ปลอกหุ้มเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบวม   จากกลุ่มผู้ประสบปัญหานิ้วล็อคทั้งหมด มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ้วล็อคได้แก่ ปวดบริเวณผ่ามือและนิ้ว
นิ้วเคลื่อนไหวไม่สะดวก มีอาการสะดุด หรือ นิ้วยึดอยู่ในท่างอ

การป้องกันโรคนิ้วล็อคนั้นทำได้ง่ายๆ  โดยการหลีกเลี่ยงการใช้งานมือโดยการงอนิ้ว หรือ กำบีบหิ้วสิ่งของต่างๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป

finger.jpg

การรักษาผู้ป่วยนิ้วล็อคนั้น  ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของผู้ป่วย    ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มากนั้น จะรักษาโดยการทานยาต้านอักเสบของเส้นเอ็น      การแช่น้ำอุ่นวันละ1-2ครั้ง    รวมถึงการลดและหลีกเลี่ยงการถืออะไรก็ตามเป็นเวลานาน สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะฉีดยาบริเวณที่มีอาการอักเสบ

โดยทั่วไปแล้ว  ถ้าไม่หายควรเข้าสู่กระบวนการผ่าตัดและไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง    ในการผ่าตัดนั้นจะกระทำเมื่ออาการรุนแรงหรือพบว่าการรักษาเบื้องต้นนั้นไม่หาย

โดยการผ่าตัด จะเริ่มจากการผ่าตัดพังผืดของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้วเพื่อขยายช่องปลอกหุ้มเอ็น หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันทีและเริ่มใช้งานนิ้วได้เบาๆทันที

ข้อควรระวังหลังการผ่าตัด หลีกเลี่ยงการโดนน้ำ 7-10 วัน จนกระทั่งตัดไหม ช่วงนี้ควรใช้นิ้วมือเบาๆ จนรู้สึกว่าหายดีจึงใช้งานตามปกติ